ศาลรัฐธรรมนูยไม่รับคำร้อง!
ประชาชนผิดหวัง ปมมติรัฐสภาห้ามเสนอชื่อ ‘พิธา’ โหวตนายก รอบ 2
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 16 ส.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ประชุมเพื่อพิจารณากรณี ผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213
กรณีรัฐสภามีมติตีความว่าการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบในรอบที่ 2 เป็นญัตติทั่วไป
ต้องห้ามนำเสนอญัตติซ้ำอีกตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้องเรียนตาม รธน.มาตรา 3 วรรคสอง, มาตรา 5 วรรคหนึ่ง, มาตรา 25 วรรคสาม และมาตรา 27 หรือไม่ พร้อมกับมีคำขอให้ชะลอการโหวตนายกฯ ออกไปจนกว่าจะมีคำวินิจฉัย
โดยพิจารณาต่อเนื่องมาจากการประชุมเมื่อวันที่ 3 ส.ค. ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า คำร้องนี้มีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และมีประเด็นเชิงหลักการการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติม
จึงให้เลื่อนการพิจารณามาเป็นวันที่ 16 ส.ค. เนื่องจากคำร้องดังกล่าว ต้องให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป และให้ผู้ร้องระบุสถานะบุคคลของคณะผู้ร้องเรียนที่ 3 (นางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ และคณะ) ทุกรายว่า เป็นประชาชนหรือสมาชิกรัฐสภา โดยให้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในวันอังคารที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา
ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ประกอบพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธรพิจารณษของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 46 เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ให้ศาลรัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล
จากการกระทำละเมิดโดยใช้อำนาจรัฐ แต่บุคคลที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิด
สำหรับกระบวนการได้มาซึ่งนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบเฉพาะบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอ และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 เท่านั้น
เมื่อผู้ร้องเรียนทุกคนไม่ใช่บุคคลที่ทางพรรคการเมืองแจ้งรายชื่อว้ว่าจะเสนอรัฐสภาเพิ่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกฯ ทั้งไม่ได้เป็บุคคลที่พรรคเสนอชื่อต่อรัฐสภา ผู้ร้องเรียนทุกคนจึงไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง ไม่อาจใช้สิทธิยื่นคำร้องได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 วรรคหนึ่ง ประกอบมีช่องทางใการยื่นคำร้องที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะแล้ว
ดังนั้นผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ได้ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นมติเอกฉันท์ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย เมื่อมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว คำขออื่นย่อมเป็นอันตกไป
อ่านต่อ ข่าวทั่วไป ข่าวกระแส จัดอันดับแซ่บ ข่าววันนี้